Skip to content
Menu
    • About
    • Contact
    • Privacy
    • Privacy Policy
  • Home
  • Food
  • Lifestyle
  • Privacy Policy
  • Contact
  • About
  • Contact
  • Privacy
  • Privacy Policy

Foodista

  • Home
  • Food
  • Lifestyle
  • Privacy Policy
  • Contact
ซื้อ ประกัน รถยนต์

คนซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควรต้องรู้ ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ คืออะไร

19 January 2021 January 26, 2021 Colleen TorresLifestyle

เมื่อมีรถก็เป็นธรรมดาที่จะต้องคิดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะตามมามากมาย คนส่วนใหญ่ก็จะต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือในส่วนนั้นอยู่แล้ว แต่ที่น่าหนักใจก็คือ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ค่าซ่อมค่าเยียวยาจากความสูญเสียต่าง ๆ นี่สิที่น่าเป็นห่วงมากกว่า เหตุนี้จึงทำให้ผู้ขับขี่ต้องซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ เพื่อจะได้ลดภาระที่ตามมาหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

แต่ข้อดีของการซื้อ ประกัน รถยนต์ภาคสมัครใจ ไม่ได้มีอยู่แค่เรื่องค่าชดเชยสำหรับการซ่อมแซมรถหรือเยียวยาผู้บาดเจ็บเท่านั้น ยังมีเรื่องของค่าขาดประโยชน์การใช้รถอีกประการที่ถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่เราสามารถขอรับเพิ่มได้ แต่ค่าขาดประโยชน์นี้คืออะไร มาพบคำตอบกัน

ค่าขาดประโยชน์การใช้รถคือ?

ซื้อประกัน รถยนต์

สรุปอย่างรวบรัดก็คือ เงินชดเชยรูปแบบหนึ่ง ที่ฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันของฝ่ายผิดได้ กรณีที่รถเสียหายจนไม่สามารถใช้รถเดินทางได้ในช่วงระยะหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น

เกิดอุบัติเหตุขึ้น คุณเป็นฝ่ายถูก คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด ทั้งคุณและคู่กรณีต่างซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ทั้งคู่ แต่อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้รถคุณเสียหายพอสมควรต้องเข้าอู่ซ่อม ทำให้คุณไม่สามารถใช้รถได้ กรณีนี้คุณสามารถเรียกร้องเงินชดเชยจากบริษัทประกันของคู่กรณีเป็นค่าเดินทางระหว่างที่รถของคุณซ่อมอยู่ที่อู่ได้ ซึ่งค่าสินไหมตรงนี้ เราเรียกว่า ค่าขาดประโยชน์การใช้รถนั่นเอง

ประกันภาคบังคับ มีค่าขาดประโยชน์การใช้รถหรือไม่

สำหรับประกันภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์นั้นจะแตกต่างจากประกันภาคสมัครใจตรงที่ จะให้ความคุ้มครองแค่คน แต่ไม่ได้ดูแลไปถึงเรื่องทรัพย์สินซึ่งก็คือตัวรถ ดังนั้น ประกันภาคบังคับจะไม่มีค่าขาดประโยชน์การใช้รถตรงนี้ ประเด็นนี้ชวนให้เราเห็นคุณค่าและความจำเป็นของการทำประกันภาคสมัครใจได้อย่างชัดเจนมากขึ้นเลยทีเดียว

ค่าขาดประโยชน์ ประเด็นที่ถูกมองข้ามเวลาซื้อประกันรถยนต์

ที่กล่าวมาข้างต้นคุณจะเห็นว่าเงินชดเชยจากค่าขาดประโยชน์นี้ก็ถือว่าสำคัญที่เดียว แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ช่วงเวลาที่เราตัดสินใจจะซื้อจะต่อประกัน ตัวแทนหรือผู้ให้บริการมักไม่อธิบายหรือชี้แจงรายละเอียดสิทธิประโยชน์ตรงนี้ให้เราทราบ แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะสิทธิ์ตรงนี้มักจะมีระบุไว้อยู่ในกรมธรรม์อยู่แล้ว และไม่ว่าคุณจะทำประกันระดับไหนก็สามารถขอรับเงินชดเชยตรงนี้ได้

ค่าขาดประโยชน์ ได้อย่างไร ได้เท่าไหร่

หากว่าคุณต้องการใช้สิทธิ์เรียกร้องขอเงินชดเชยค่าขาดประโยชน์ตรงนี้ คุณก็จะต้องมีการดำเนินการยื่นเอกสารต่าง ๆ ก่อน ซึ่งมีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

  1. ทำการประสานติดต่อไปยังบริษัทประกันของคู่กรณี และแจ้งคำร้องของค่าชดเชย ทางบริษัทประกันคู่กรณีก็จะแจ้งว่า เราต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
  2. ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่บริษัทประกันคู่กรณี (ส่วนใหญ่แล้วจะให้ส่งทางไปรษณีย์) ซึ่งเมื่อทางบริษัทประกันของคู่กรณีได้รับเอกสารแล้วก็จะทำการพิจารณา ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยก็อาจมีการติดต่อเพื่อขอต่อรองเรื่องค่าชดเชย
  3. หากการตกลงต่าง ๆ เรียบร้อยดี เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ คุณก็จะได้รับค่าชดเชย

สำหรับอัตราการชดเชย ได้เท่าไหร่นั้น ก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ โดยคร่าวๆ  จะมีดังนี้

  • กรณีรถยนต์ส่วนตัวไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราที่ได้จะไม่ต่ำกว่า 500 บาท/วัน
  • กรณีรถยนต์รับจ้างสาธารณะไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราที่ได้จะไม่ต่ำกว่า 700 บาท/วัน
  • ถ้าเป็นรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง อัตราที่ได้จะไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/วัน

ทุกท่านคงได้ทราบกันแล้วถึงสิทธิประโยชน์อีกประการที่คุณจะได้รับเมื่อซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งหวังว่าคุณทุกคนจะได้รับประโยชน์และได้ความคุ้มค่าจากการทำประกันมากขึ้น

  • ← ท็อปเปอร์ ราคาถูก คุณภาพดีหาซื้อได้จากที่ไหน

Categories

  • Food
  • Lifestyle
  • My Blog

Recent Posts

  • คนซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควรต้องรู้ ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ คืออะไร
  • ท็อปเปอร์ ราคาถูก คุณภาพดีหาซื้อได้จากที่ไหน
  • แหล่งรับผลิตกาแฟเพื่อสุขภาพ เลือกอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • สีทาผนังบ้านรุ่นอะไรที่ช่วยทำให้บ้านเย็นได้บ้าง
  • เหตุผลที่ควรจ้างบริษัทกำจัดปลวก ในการกำจัดปลวกในบ้าน

Tags

foodpanda Jobtopgun ของเล่นไม้ น้ำพริกปลาสลิด รับผลิตกาแฟ ราคา กำจัดปลวก ร้านอาหารเหนือชื่อดัง สีทาบ้านTOA หลอดนีออน led อาหาร อาหารคลีน
Copyright © 2021 Foodista. Theme: FoodHunt by ThemeGrill. Powered by WordPress
close me